ผ้าซิ่นตีนจกทอมือ ย้อมสีด้วยสีจากธรรมชาติ ทอด้วยผ้าฝ้ายอย่างดี
เครื่องทอ (งานผ้า)
imagepq1u
เรื่องเล่าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
นายวัชรพงษ์ ต้องรักชาติ บุคคลผู้ซึ่งถือได้ว่าเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีใจรักในงานหัตถกรรม ผ้าทอมาตั้งแต่วัยเยาว์ ทั้งด้วยการได้รับการถ่ายทอดความรู้การทอผ้าจากมารดา และการฝึกฝน เรียนรู้ จากช่างทออีกหลายคน จนมีความรู้ และทักษะและความ เชี่ยวชาญในทุกกระบวนการทอผ้า ตั้งแต่การสร้างเครื่องไม้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับ งานทอผ้า การเตรียมเส้นใยฝ้าย การย้อมสีธรรมชาติ และที่สำคัญคือความเชี่ยวชาญ การทอผ้าตามแบบโบราณของชาวล้านนา ทั้งเทคนิคขิด จก ยกมุก และมัดหมี่ ที่ยัง คงสืบทอดเอกลักษณ์ของผ้าทอล้านนาแบบดั้งเดิมไว้ได้อย่างดีเยี่ยม เป็นระยะเวลา ยาวนานนับจนถึงในปัจจุบันกว่า 20 ปีมาแล้ว
descimg descimg
คุณสมบัติพิเศษที่เป็นจุดขายของผลิตภัณฑ์
ความงดงามของซิ่นตีนจกที่แม่แจ่ม ประกอบไปด้วย หัวซิ่น หรือ เอวซิ่น ทอด้วยฝ้ายสีขาว กว้างประมาณ 1 คืบ ส่วนของตัวซิ่น อยู่ตรงกลาง ระหว่างเอวซิ่นกับตีน ลักษณะเด่นจะเป็นลายขวาง ถ้าไม่มีลวดลายอะไร สีเหลืองเรียก
ซิ่นตาเหลือง สีขาว เรียก ซิ่นตาขาว หากมีการใช้เทคนิค การปั่นไกโดยนำฝ้าย 2 สีมาควบรวมกันก่อนนำไปเป็น
เส้นพุ่ง เรียก ซิ่นแอ้ม และส่วนของ ตีนซิ่น เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุดของซิ่น หากทอ ด้วยเทคนิคการจก จะเรียกว่า ตีนจก หากไม่มีลวดลายเป็นสีพื้นสีแดง หรือสีดำที่ย้อม จากเปลือกไม้ จะเรียกว่าซิ่นตีนดำ ซิ่นตีนแดง
เอกลักษณ์เฉพาะตัวของผลิตภัณฑ์
ซิ่นตีนจก ถือเป็นเอกลักษณ์ที่มีความโดดเด่นสะท้อนทักษะฝีมือของ ช่างผู้ทอเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะลวดลายจก ส่วนตีนซิ่น ซึ่งนายวัชรพงษ ถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีทั้งทักษะ ความชำนาญ และยังอนุรักษ์ สืบสาน ลวดลายแบบโบราณ เอกลักษณ์ของผ้าซิ่นตีนจกที่สืบทอดมาแต่รุ่น บรรพบุรุษ ผ่านผืนผ้าทอแต่ละผืน ได้อย่างงดงาม โดยลวดลาย ที่โดดเด่น เช่น ลายโคม ลายขัน ลายสะเปา เป็นต้น
image
เล่นวิดีโอ
วัตถุดิบที่ใช้
  • ต้นฝ้าย (ท้องถิ่น/ชุมชน) 40.00
  • สีที่ได้จากยางไม้ธรรมชาติ (ในประเทศ) 100.00
  • ดิ้นทอง (นำเข้าจากต่างประเทศ) 20.00
กระบวนการผลิต หรือเทคนิคที่ใช้
ภูมิปัญญาที่สะท้อนทักษะฝีมือเชิงช่างของนายวัชรพงษ์ คือ การทอ “ตีนจก” อันสะท้อนอัตลักษณ์บนผืนผ้าแบบ ล้านนาที่โดดเด่น จากการที่ได้ฝึกฝน เรียนรู้ภูมิปัญญาการจกที่สืบทอดจากรุ่นบรรพบุรุษ จนเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ในเทคนิคการจกด้วย “ขนเม่น” แบบโบราณ ที่ต้องใช้ทั้งทักษะฝีมือ ความชำนาญ และความพิถีพิถัน ทั้งการจก เส้นไหม และการจกด้วยแล่งโลหะ (เส้นเงิน หรือเส้นทอง) สร้างสรรค์ผลงานผ้าทอ “ตีนจก” แบบโบราณ โดยเฉพาะ “ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม” ได้อย่างประณีต และงดงาม
imagesb3n imagevj2f
กระบวนการผลิตพิเศษ
ซิ่นตีนจก ถือเป็นเอกลักษณ์ที่มีความโดดเด่นสะท้อนทักษะฝีมือของ ช่างผู้ทอเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะลวดลายจก ส่วนตีนซิ่น ซึ่งนายวัชรพงษ ถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีทั้งทักษะ ความชำนาญ และยังอนุรักษ์ สืบสาน ลวดลายแบบโบราณ เอกลักษณ์ของผ้าซิ่นตีนจกที่สืบทอดมาแต่รุ่น บรรพบุรุษ ผ่านผืนผ้าทอแต่ละผืน ได้อย่างงดงาม โดยลวดลาย ที่โดดเด่น เช่น ลายโคม ลายขัน ลายสะเปา เป็นต้น
ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่นำมาใช้
ความงดงามของซิ่นตีนจกที่แม่แจ่ม ประกอบไปด้วย หัวซิ่น หรือ เอวซิ่น ทอด้วยฝ้ายสีขาว กว้างประมาณ 1 คืบ ส่วนของตัวซิ่น อยู่ตรงกลาง ระหว่างเอวซิ่นกับตีน ลักษณะเด่นจะเป็นลายขวาง ถ้าไม่มีลวดลายอะไร สีเหลืองเรียก
ซิ่นตาเหลือง สีขาว เรียก ซิ่นตาขาว หากมีการใช้เทคนิค การปั่นไกโดยนำฝ้าย 2 สีมาควบรวมกันก่อนนำไปเป็น
เส้นพุ่ง เรียก ซิ่นแอ้ม และส่วนของ ตีนซิ่น เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุดของซิ่น หากทอ ด้วยเทคนิคการจก จะเรียกว่า ตีนจก หากไม่มีลวดลายเป็นสีพื้นสีแดง หรือสีดำที่ย้อม จากเปลือกไม้ จะเรียกว่าซิ่นตีนดำ ซิ่นตีนแดง
imagedb5h
การใช้งาน
นายวัชรพงษ์ มุ่งมั่นที่จะสืบสานองค์ความรู้การทอผ้าล้านนาในอดีต จากการแกะลายผ้าโบราณ ด้วยความมุ่งมั่นการ ฝึกฝนเพื่อรื้อฟื้นผ้าทอที่ใกล้สูญหายหลากหลายผลงาน อาทิ ผ้าซิ่นตีนจกเชียงแสนโบราณ ผ้าซิ่นตีนจกจอมทอง ผ้าซิ่นยกมุกโบราณ เป็นต้น เพื่อสืบทอดงานหัตถกรรมทอผ้าที่เป็นภูมิปัญญาของชาวล้านนาให้รุ่นหลังได้เห็นผลงาน พร้อมส่งต่อองค์ความรู้โดยอุทิศตัวเป็นครูสอนงานทอผ้าอยู่ที่ "บ้านไร่ใจสุข" สอนให้แก่ผู้สนใจทั่วไปทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศที่มาเรียนรู้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ดูผลิตภัณฑ์อื่น